Download หลักสูตร สื่อ เอกสารประกอบการเรียนการสอน ใบความรู้ ที่น้อมนำ ปศพพ.จากสถานศึกษาสู่ชุมชน















 























เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง กับ กศน.ตำบลบางหลวง 

                ย้อนฟัง ในหลวง ร. 9 ทรงอธิบายเรื่อง "เศรษฐกิจพอเพียง" เป็นแนวทางในการปฏิบัติตนในสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ แนวคิดพื้นฐานของคนไทย ที่ส่งเสริมให้คนไทยมีความรู้ไปใช้ได้ 3 ห่วง 2 เงื่อนไข ได้อย่างเหมาะสมรู้จักการแบ่งปัน การอยู่ด้วยกัน ของคนไทย




ความพอประมาณ
                ความพอประมาณหมายถึงความพอดี พอเหมาะไม่มากหรือน้อยเกินไปจนเบียดเบียนตนเองและผู้อื่นซึ่งเป็นไปตามพุทธเศรษฐศาสตร์ ยึดหลักทางสายกลางและความไม่โลภ
              เรา สามารถนำคำสอนของสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในหลวงรัชการที่ 9 มาเป็นแนวทางการรู้จักพึ้งตนเองได้ เช่นการซื้อโทรศัพท์มือถือ เราควรพอประมาณ ในเรื่องขอราคา รูปลักษณ์ภายนอกของผลิตภัณฑ์ และสิ่งจูงใจให้เราเกิดความรู้สึกอยากได้ของราคาแพง อยากเปลี่ยนมือถือรุ่นใหม่ ๆ จนเราใช่จ่ายเกินตัวเป็นหนี้สิน จนเบียดเบียนตัวของเราเอง แต่ถ้าเรารู้และเข้าใจนำไปใช้เราจะเป็นผู้ที่มีความพอประมาณในตัวเอง 


ความมีเหตุผล 
                ความมีเหตุผล หมายถึงการตัดสินใจดำเนินการใดอย่างมีเหตุผล คำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำอย่างรอบคอบ ใช้หลักเหตุผลตามความพอเพียง ตามหลักวิชาการ กฎหมาย ศีลธรรม จริยธรรมและวัฒนธรรมที่ดีงาม ซึ่งเป็นไปตามพุทธเศรษฐศาสตร์ ใช้ปัญญาในการพิจารณาตัดสินใจใช้หลักเหตุผลมิใช่คำนึงถึงความอยาก ความโลภ หรือตัณหา
                เราต้องรู้จักหลักของเหตุและผล โดยยกตัวอย่างการเกิดเหตุ เช่นเราต้องการที่จะซื้อโทรศัพท์มือถือใหม่ซักเครื่องเหตุเพราะโทรศัพท์เครื่องเดิม เสีย เก่าไม่สามารถใช้งานตามความต้องการของเราได้  ผลที่ได้นั้น ก็คือโทรศัพท์มือถือเครื่องใหม่ เราก็ต้องมีการเตรียมเงินในการซื้อโทรศัพท์ตามความต้องการไม่ว่าจะซื้อด้วยเงินสด หรือเงินผ่อน ว่าสถานะการเงินของเราเองว่ามีความพร้อมมากแค่ไหน 




การมีภูมิคุ้มกันที่ดี 
               การมีภูมิคุ้มกัน หมายถึงการเตรียมตัวพร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมเพื่อให้สามารถปรับตัวและรับมือได้อย่างทันท่วงที ซึ่งเป็นไปตามพุทธเศรษฐศาสตร์ที่มีความไม่ประมาทต้องเตรียมพร้อมและเข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงที่เป็นไปตามธรรมชาติ

                 เราต้องรู้จักการเตรียมตัวของตัวเองให้ดีรู้จักการออม การเก็บเงินไว้ใช้จ่ายเมื่อยามจำเป็น เหมือนกับการซื้อของ การใช่จ่ายในชีวิตประจำวัน เป็นสิ่งที่จำเป็นทั้งนั้นหากไม่มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี ก็จะส่งผลให้กับตัวเอง ชุมชน สังคม และประเทศชาติได้ เราจำเป็นต้องมี
  



ความรู้
            ความรู้หมายถึง ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่างๆที่เกี่ยวข้อง และมีความรู้ในการตัดสินใจได้ถูกต้อง ซึ่งสอดคล้องกับพุทธเศรษฐศาสตร์ที่เน้นการใช้ปัญญา
            จากที่กล่าวมาความรู้ที่ได้นั้นเรานำมาใช้เป็น ก็คือหลักการคิดเป็นของ กศน.นั้นเองขอยกตัวอย่างการซื้อโทรศัพท์ก็ต้องมีความรู้ว่า ยี่ห้ออะไรดี ราคาเท่าไร ความคุ้มค่า การบำรุงรักษา เราค่อยตัดสินใจซื้อ
              ความรอบรู้ คือการอ่านการแสวงหาความรู้ การจัดการความรู้ ให้เป็นระบบสร้างภูมิคุ้มกันในตัวเองไม่ถูกหลอกได้ง่าย เวลาซื้อของก็สามารถวิเคราะห์ความคุ้งค่า และประโยชน์ได้มากกว่าเดิม 
              ความรอบคอบ คือความถ้วนถี่, ดูอย่างละเอียดทั่วถึง, ไม่หลงลืม, ไม่เผอเรอ 
              ระมัดระวัง คือการป้องกันภัยต่าง ๆ ที่จะส่งผลเสียต่อตนเอง ต่อผู้อื่น  ครอบครัว และสังคม


คุณธรรม
               เงื่อนไขคุณธรรม หมายถึงการยึดหลักคุณธรรมเป็นแนวทาง มีความซื่อสัตย์สุจริต ไม่โลภ รู้จักแบ่งปันให้ผู้อื่น มีความสามัคคี ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน พากเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต ซึ่งเป็นไปตามพุทธเศรษฐศาสตร์
              คุณธรรมเป็นธรรมที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ ให้เราและคนทุก ๆ คน เป็นคนดีรู้จักการแบ่งปันการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ไม่เห็นประโยชน์ส่วนตนให้ถือส่วนรวมเป็นที่ตั้ง ยกตัวอย่างคุณธรรมการใช้โทรศัพท์มือถือและสื่อออนไลน์ต่าง ๆ 
                1. ใช้ถ้อยคำสุภาพ
                2. ปฏิบัติตามกฎ กติกา และมารยาท
                3. ไม่ทำสิ่งผิดกฎหมายในด้านต่าง ๆ 


ยังมีอีกครับ ที่เราเคยรู้เคยเรียนกับครูสอนมา ก็จะมี 3 ห่วง 2 เงื้อนไข ที่ได้กล่าวมาข้างต้น ก็ยังมีในเรื่องของ 4 มิติ อีกด้วยดังนี้  ในตำบลบางหลวงเราก็มีดีเหมือนกันน่ะเนี้ย
               มิติด้านวัตถุ หมายถึง วัตถุเชิงกายภาพที่มนุษย์สร้างขึ้น รวมถึงเงินซึ่งเป็นปัจจัยในการผลิต และบริโภค 


              มิติด้านสังคม หมายถึง สภาพและกติกาการอยู่ร่วมกันและความสัมพันธ์ของคนในสังคม สถาบันทางสังคม และสวัสดิการทางสังคม 


              มิติด้านสิ่งแวดล้อม หมายถึง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของชุมชน สังคม และโลก
กศน.ตำบลบางหลวง และ กลุ่มจักสานผักตบชวาบ้านดอนตะไล้ ได้ดำเนินการจัดกิจกรรมศูนย์ฝึกอาชีพ ในรูปแบบกลุ่มสนใจ และกลุ่มชั้นเรียน เป็นการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้เป็นการอยู่ร่วมกันกับสิ่งแวดล้อมได้ดีจึงมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่คือ การทำกระดาษจากเยื่อผักตบชวา 



               มิติด้านวัฒนธรรม หมายถึง วิถีการดำเนินชีวิตของคนในสังคมรวมไปถึงศิลปะ วัฒนธรรมและ โบราณสถาน 

สื่อความรู้เพื่อจัดการศึกษาปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 














5 ความคิดเห็น:

  1. คุณครู ควรสำแดงบริบท ตัวตนแท้จริงของตน เริ่มจากสถานศึกษาสู่ กศน.ตำบล แสดงตัวตน กศน.ตำบลให้มาก อาทิ หน้านี้ ลองดูเปรียบเทียบกับของคุณครู กศน.ตำบลอื่น ๆ ในสังกัด เขาเริ่มต้นที่ หลักสูตรท้องถิ่นที่คุณครูและเพื่อนครูทุกคนร่วมกันพัฒนา เล่มสีม่วง เป็นแกนกลางนำทาง เป็นต้น

    ตอบลบ
  2. ส่วนสื่ออื่น ๆ ที่ดูหลากหลาย ควรเป็นสื่อที่ออกมาจากตัวตนตำบลตนเอง ถ้าไม่มีก็ควรลงตำบลอื่นของอำเภอเรา หรือของอำเภอของเรามีอะไรบ้างเป็นที่ตั้งก่อน เมื่อหมดแล้วหาไม่ได้ค่อยมาเอาสื่อจากที่อื่นมาลง ไม่รู้ว่าคุณครูจะเข้าใจหรือเปล่า

    ตอบลบ
  3. โอกาสหน้าถ้ามีเวลาจะหาเวลามาแวะเยี่ยมใหม่ ครับครู

    ตอบลบ
  4. ปล. หน้านี้เกี่ยวกับ การนำ ปศพพ.สถานศึกษาหรือ กศน.ตำบล สู่ชุมชน อยากให้คุณครู โชว์งานที่ กศน.ตำบลทำเรื่องนี้จริง เพิ่ม อาทิ สาธิตการเรียนการสอน ที่สอดแทรก ปศพพ.ในรายวิชาอื่น การถอดองค์ความรู้ของผู้เรียนนำ ปศพพ.ไปใช้ในชีวิตประจำวันที่บ้านจริง ประการใดบ้าง มีภาพหรือบันทึกวีดีโอ คลิปภาพเสียงมานำเสนอ ประมาณนี้ นะครู น่าจะดูดีขึ้น เห็นครูมาผลงานเรื่องนี้เยอะ นับตั้งแต่ หัวหน้าศึกษานิเทศก์ มาเป็นวิทยากร และครู ผู้เรียน นำไปพัฒนาการเรียนการสอนเรื่อยมา และกิจกรรมพัฒนา/เข้าร่วม ศรร.ด้านการศึกษาของ กศน.อำเภอสรรพยา ทำเยอะแต่ไม่ค่อยนำมาลงเสนอ คนอื่น นักศึกษา ประชาชน เข้าจะรู้หรือครูทำอะไรบ้าง ลง/แสดงเนื้อหาที่คุณครูลงมือทำ มาเสนอ น่าจะเป็นแนวทางพัฒนาที่โดน นะครับคุณครู

    ตอบลบ
  5. ครับจะนำคำแนะนำที่ท่านอาจารย์มาพัฒนาให้ครับ

    ตอบลบ